วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 12 ณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา




สัปดาห์ที่ 11 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)

หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ

หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา

- หมวด 3 ระบบการศึกษา

หมวด 4 แนวการจักการศึกษา

หมวด 5 การบริหารและการจักการศึกษา

หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

หมวดที่ 9 ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา

จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ส่งเสริมและสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
พัฒนาบุคลากรด้านผู้ผลิต และผู้ใช้
ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 10 แนวโน้มทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา


นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต


การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา

ต้องยึดถือในกรอบความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา

หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

*****เป็นนักออกแบบและจัดการการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ การออกแบบระบบการเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดเ

ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา

ขอบข่ายของ AECT




สรุป

การวิจัย เป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบ ในการแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่างๆ เพื่อให้ได้ คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัย เป็นกระบวนการในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งยืนอยู่บนกรอบแนวคิดในศาสตร์และขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา

http://ncourse.buu.ac.th/course/view.php?id=87

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 9 สอบกลางภาค

สอบกลางภาค





วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 8 นวัตกรรม

นวัตกรรมคืออะไร?



“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)


ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)

มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ที่มา : http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7 พื้นฐานการออกแบบสื่อโดยใช้หลักและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา


สื่อเพื่อการเรียนรู้ (Media for Learning)

สื่อเพื่อการเรียนรู้ คือ ช่องทางในการนำข้อมูลสารสนเทศที่มีสาระและประโยชน์ไปยังผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสต่อสื่อนั้น แล้วส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด ทัศนคติ และนำไปสู่ความรู้ใหม่ เพื่อพัฒนาพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ก่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง

การนำหลักทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้

มีดังนี้

1. การให้ความสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราความเร็วในการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่ต่างกัน การกำหนดอัตราความเร็วในการนำเสนอเนื้อหาในสื่อ ควรพิจารณากับความเหมาะสมของช่วงเวลาที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจ

2. การพัฒนาแรงจูงใจ การเรียนที่ได้ผล ต้องเริ่มจากการที่ผู้เรียนมีความต้องการและความสนใจที่จะเรียน

3. การให้ความสำคัญของวัตถุประสงค์ในการเรียน การให้ผู้เรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ในการเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาศบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนรู้ได้มากกว่าการที่ผู้เรียนไม่ทราบวัตถุประสงค์ในการเรียน

4. การจัดเนื้อหา การกำหนดเนื้อหา วิธีการ และกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำ จะช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น

5. อัตราความเร็วในการนำเสนอ ต้องเหมาะสมในการนำเสนอ ถ้านานเกินไปจะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย

6. การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้หรือประสบการณ์ที่จำเป็นในการเรียนรู้

7. การคำนึงถึงอารมณ์ของผู้เรียน อารมณ์เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้

8. การมีส่วนร่วม ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เข้าใจ และจดจำเนื้อหาเรื่องที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น

9. การเสริมแรง ความสำเร็จในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่จะเรียนต่อไป

10. การรู้ผลแห่งการกระทำ การรู้ว่าการกระทำของตนถูกหรือการรู้จุดอ่อนของตนที่จะต้องปรับปรุง จะเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้ต่อไป

11. การฝึกหัดและการกระทำซ้ำ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้ จนกลายเป็นความรู้ที่สะสมอยู่ในตัวตน

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 6 หลักการทางศิลปะในการนำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา




วัสดุกราฟิก

Graphic หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเ
ขียนภาพขาวดำ และการเขียนด้วยตัวหนังสือ และการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น

วัสดุกราฟิก หมายถึง วัสดุใดๆซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขีย
น และ
อักษรข้อความรวมกัน


แผนภูมิ

ใช้แสดงความสัมพันธ์ ควารมต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ลักษณะสิ่งของ และปรากฎการต่างๆ โดยทำเป็นแผ่นภาพ ซึ่งมีสัญลั
กษณ์เครื่องหมายและคำอธิบายประกอบเข้าด้วยกันสามารถเข้าใจง่าย

ประเภทของแผนภูมิ

-แผนภูมิแบบ
ตาราง

-แผนภูมิแบบต้นไม้

-แผนภูมิแบบสายธาร

-แผนภูมิแบบอ
งค์การ

-แผนภูมิแบบต่อเนื่อง

-แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ

-แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ

-แผนภูมิแบบอธิบายภาพ

-แผนภูมิแบบ
ลำดับเรื่อง

แผนสถิติ

ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตารางเปรียนเทียบความสัมพันธ์ หรือความแตกต่างระหว่างจำ
นวนข้อมูล

ประเภทของแผนสถิติ

-แผนสถิติแบบเส้น

-แผนสถิติแบบพื้นที่

-แผนสถิติแบบรูปภาพ

-แผนสถิติแบบแท่ง

-แผนสถิติแ
บบวงกลม


ผลการวิจัยเกี่ยวกับแผนสถิติ

1.แผนสถิติแบบวงกลม เป็นสถิติที่มีรูปทรงง่ายที่สุด เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนย่อยกับข้อมูลส่วนใหญ่

2.แผนสถิติแบบเส้น เป็นแบบที่แสดงข้อมู
ลได้ถูกต้องที่สุดและชัดเจนที่สุด

3.แผนสถิติแบบพื้นที่ เป็นการเสนอข้อมูลที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้เร็ว แต่หารายละเอียดไ
ด้น้อย

4.แผนสถิติแบบแท่งหรือตารางสถิติแบบสั้น จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้ามีคำบรรยายประกอบ

5.แผนสถิติแบบรูปภาพ ควรเสน
อในแนวนอน



แผนภาพ

ใช้แสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอั
กษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดงลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น

ประเภทของแผนภาพ

-แผนภาพแบบลายเส้น

-แผนภาพแบบรูปภาพ

-แผนภาพแบบบล็อค

-แผนภาพแบบผสม




ภาพโฆษณา

เป็นทัศนวัสดุที่ใช้แสดงความคิดหรือข้อเท็จจริงด้วยสัญลักษณ์ ภาพประกอบที่สะดุดตา คำขวัญที่กินใจ หรือคำอธิบายสั้นๆ โดยการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นในระยะเวลาอันสั้น สามารถเข้าใจได้ง่าย
จดจำได้อย่างรวดเร็ว








การ์ตูน

เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อ
ถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใจให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน

ประเภทของการ์ตูน

-การ์ตูนการเมือง

-การ์ตูนประกอบเรื่อ

-การ์ตูนภาพเดียวจบ

-การ์ตูนแบบตอนสั้น

-การ์ตูนเรื่อง

-การ์ตูนโฆษณา






แผนที่

เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆบนพื้นโลก โดยใช้เส้น สี สัญลักษณ์และการกำหนดมาต
ราส่วน เพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว








ลูกโลก

เป็นวัสดุ3มิติประกอบหุ่นจำลองแบบย่อส่วน โดยย่อส่วน
หรือลดขนาดของโลก อาศัยมาตราส่วนกำหนดขนาด และระยะทางใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด




กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 หลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อการสอน





ดูงานที่สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ของเอดการ์เดล

เอดการ์ เดล(Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของBruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1. ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง การเห็น เป็นต้น

2. ประสบการณ์จำลอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้

3. ประสบการณ์นาฏการ เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร

4. การสาธิต เป็นการแสดงประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ

5. การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน

6. นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม

7. ภาพยนตร์และโทรทัศน์ ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียง

8. การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง อาจเป็นในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออก แต่ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาได้

9. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่างๆ

10. วจนสัญลักษณ์ การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

ภาพจาก : 61.91.205.171/doc_pdf/cai_design...eory.html




วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 องค์ประกอบของการสื่อสาร



องค์ประกอบของการสื่อสาร


องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ผลย้อนกลับ (Feedback)


Credit : http://mail.vcharkarn.com/varticle/37881



1. ผู้ส่งสาร ( Sender )
หมายถึง บุคคล หรือหน่วยงานที่เป็นผู้สร้างสาร หรือ แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลอื่น หรือไปยังหน่วยงานอื่นด้วยวิธีใดวิธีการหนึ่ง หรือ อาจหลายวิธี เช่น การพูด การเขียน การแสดงท่าทาง เป็นต้น ผู้ส่งสารจึงถือเป็นองค์ประกอบประการแรก ที่ทำให้กระบวนการสื่อสารเกิดขึ้น เพราะเป็นผู้เริ่มต้นการสื่อสารนั่นเอง ดังนั้นผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียว กลุ่มบุคคล หน่วยงาน หรือสถาบันองค์กรก็ได้ ผู้ส่งสารควรตระหนักอยู่เสมอก็คือ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสารที่จะสื่อออกไปนั้นอย่างแจ่มชัด มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เข้าใจถึงความสามารถและความพร้อมในการรับสารของผู้ที่ตนจะสื่อสารด้วย รวมทั้งเลือกใช้วิธีการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารครั้งนั้นๆบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

2. สาร ( Message )
หมายถึง เรื่องราวหรือสิ่งต่างๆที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปให้ผู้อื่นได้รับ และเกิดการตอบสนอง สารประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ
2.1 รหัสของสาร ได้แก่ภาพ สัญลักษณ์ หรือสัญญาณต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้แสดงออกแทนความคิด หรือความรู้สึกต่างๆ ดังนั้น สารจึงจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
1) รหัสของสารที่เป็นถ้อยคำ ( วัจนภาษา ) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2) รหัสของสารที่ไม่เป็นถ้อยคำ ( อวัจนภาษา ) ได้แก่ กิริยาท่าทาง สัญลักษณ์ และสัญญาณต่างๆ
2.2 เนื้อหาของสาร ได้แก่ มวลความคิด และประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกัน เนื้อหาของสารจะแฝงไปกับรหัสของสาร เมื่อผู้รับสารสามารถ ถอดรหัสของสารได้ ก็แสดงว่าเข้าใจเนื้อหาของสารนั้นแล้ว เราแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) เนื้อหาของสารที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ หรือข้อสรุปที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว มีเหตุผลยอมรับได้ว่าเป็นความจริง สามารถอ้างอิงได้
2) เนื้อหาของสารที่เป็นข้อคิดเห็น คือ ความรู้สึกหรือความคิดส่วนตัวของผู้ส่งสาร โดยอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้
2.3 การจัดสาร ได้แก่ การนำเนื้อหาของสารมาเรียบเรียงอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ ด้วยการเลือกใช้รหัสของสารที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้คำ การใช้ท่าทางประกอบ การจัดลำดับความ การอธิบาย เป็นต้น สารที่ได้รับการจัดอย่างดี จะทำให้สารมี จะทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ส่งสารต้องการ

3. สื่อและช่องทาง ( Medium and Channel )
คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางทำให้สารเคลื่อนตัวออกไปจากผู้ส่งสาร มีทั้งสื่อที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ คลื่นแสง คลื่นเสียง และสื่อที่มนุษย์ทำขึ้นหรือผลิตขึ้น เช่น โทรศัพท์ หนังสือ นิตยสาร แถบบันทึกเสียง โดยสารจะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์ เช่น อวัยวะ หรือประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ซึ่งก็เป็นช่องทางของผู้ส่งสารผ่านช่องทางของสารไปสู่ผู้รับสาร

4. ผู้รับสาร ( Receiver )
หมายถึง จุดหมายปลายทางที่สารจะส่งไปถึง ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลเดียว หรือเป็นกลุ่มก็ได้
ถ้าหากผู้รับสารตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้ส่งสาร ก็แสดงว่าผู้รับสารเข้าใจความหมายของสารที่ส่งมา ผู้รับสารจึงมีหน้าที่แปลความหมายของสารส่งสารต่อไปยังผู้รับสารคนอื่นๆตามที่ผู้ส่งสารกำหนดจุดมุ่งหมายไว้ เมื่อผู้รับได้รับสาร และแปลความหมายจนเป็นที่เข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผู้รับย่อมจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย เช่นเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย คล้อยตามหรือต่อต้าน ซึ่งการตอบสนองของผู้รับอาจผิดไปจากผู้ส่งต้องการก็ได้ ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับ หากได้มีการย้อนกลับ( Feed back) ไปยังผู้ส่งสารให้รับรู้
จะช่วยให้เกิดการปรับการสื่อสารให้ได้ผลดียิ่งขึ้น กรณีเช่นนี้เรียกว่า
การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication)

5.ผลย้อนกลับ (Feedback)
การตอบสนองของผู้รับสารกลับไปยังผู้ส่งสาร ย่อมจะต้องเกิดกระบวนการสื่อสาร เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้รับจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และผู้ส่งสารในตอนแรกจะทำหน้าที่เป็นผู้รับสารแทน ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆ ของการสื่อสารเช่นเดียวกับการสื่อสารในขั้นตอนแรก การสื่อสารแบบ 2 ทาง ผู้สื่อสารจะทำหน้าที่ เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งสารพร้อมๆ กัน


Credit:http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=84http://onzonde.multiply.com/journal/item/91/91


อธิบายถึงองค์ประกอบการสื่อสารกับการจัดการเรียนการสอนในวันนี้
1. ผู้ส่งสาร (Source) คือ อาจารย์ผู้สอน
2. สาร (Message) คือ Powerpoint เรื่อง ทฤษฎีการสื่อสาร
3. สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel) คือ บรรยายสื่อ PowerPoint เรื่อง ทฤษฎีการสื่อสาร และระบบ E-learning ของมหาวิทยาลัยบูรพา
4. ผู้รับ (Receiver) คือ นิสิตสาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา
5. ผล (Effect) คือ ผู้เรียนสามารถใช้ระบบ E-Learning
6. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ นิสิตสามารถทำตามที่อาจารย์สอนได้ และเกิดการเรียนรู้ในเรื่องทฤษฎีการสื่อสาร และ สามารถการใช้งาน E-learning เป็น

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 พัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก


ความหมายของ webblog






บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันมีประโยชน์อะไร และจะนำมาใช้งานอย่างไร และมีโครงสร้างหรือองค์ประกอบอะไรถึงจะเรียกได้ว่าเป็นเว็บบล็อก (Weblog)ความหมายของเว็บบล็อก(Weblog) บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นหน้าเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำว่า Blog ย่อมาจากคำว่า Weblog หรือ web log โดยคำว่า Weblog นั้นมาจาก web(เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกัน หมายถึง บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย (“http://th.wikipedia.org/wiki/Weblog”)บล็อกในระบบการจัดการเนื้อหาเว็บไชต์ (CMS: Content Management System) บล็อกนับว่าเป็น ระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ อย่างหนึ่ง คือเป็นระบบที่ช่วยสร้างและบริหารจัดการเพิ่มเติม แก้ไข เผยแพร่ เอกสารเนื้อหาสาระ สารสนเทศต่างๆ ในเว็บไซต์หรือที่เราเรียกว่าเป็นเอกสาร HTML ที่เคยยุ่งยากได้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้าน HTML เลยก็ได้ภายในระบบจะมีส่วนประกอบของเครื่องมือที่เป็น WYSIWYG editor (what you see is what you get) เห็นอย่างไรในขณะที่ทำก็จะได้ผลตามที่เห็น ด้วยเครื่องมือที่ดูและเข้าใจง่ายๆ คล้ายกับเครื่องมือหรือสัญลักษณ์ในโปรแกรมการพิมพ์งานทั่วๆ ไป หรือเหมือนกับการส่งอีเมลทั่วไป คือตั้งหัวข้อ ใส่เนื้อหา แค่นี้ก็ออนไลน์ได้แล้ว ระบบนี้จึงทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและสร้างเอกสารได้ง่ายสิ่งสำคัญก็คือมีรูปแบบกราฟิกสีสัน (template) และการจัดวางองค์ประกอบ (Layout) สำเร็จรูป มาเลือกให้ใช้มากมาย สามารถปรับเปลี่ยนชุดเทมเพลทได้ตามใจและกระทำได้ตลอดเวลาที่ต้องการขอแนะนำให้ทดลองใช้ของฟรีชื่อ WordPress อนาคตของการบริหารจัดการสารสนเทศทั้งขององค์กรและส่วนตัวในอนาคต จึงจะมีแนวโน้มที่จะใช้ระบบนี้มากขึ้นเรื่อยๆ(“http://th.wikipedia.org/wiki/Weblog”)
ในความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์โดยเนื้อหาของ Blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมายตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

จุดเด่นที่สุดของ Blog คือ สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบManual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียนBlog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียนอาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq และจากเหตุการณ์เหล่านี้นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เรา สามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่าง

แท้จริงสรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือBlog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ commentsและก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ความแตกต่าง ระหว่างเว็บ Blog และเว็บ Diary
ระหว่างเว็บบล็อกและเว็บไดอารี่นั้นมีความใกล้เคียงกัน เพียงแต่บล็อกมีเนื้อหาที่กว้างขวาง มีเนื้อหาที่น่าสนใจหลากหลาย และส่วนหนึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความน่าเชื่อถือหรือเป็นความรู้ ในขณะที่เว็บไดอารี่นั้นเป็นลักษณะของการเขียนบันทึกส่วนตัวมากกว่าหรือหากจะพูดง่ายๆ ก็คือ ไดอารี่เป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบของเว็บ

ความนิยม
บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น จากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

การใช้งานบล็อก
ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก
นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

บล็อกซอฟต์แวร์
บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้
ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

ประโยชน์ของเว็บบล็อก
บล็อกมีประโยชน์อะไรบ้าง จะว่าไปแล้วประโยชน์ของบล็อกก็มีอยู่มากมายขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการอะไรจากบล็อก
โดยประโยชน์ของบล็อก สรุปได้ดังนี้
ให้ข่าวสารข้อมูล เว็บไซต์ของเราเอง
เราสามารถที่จะทำตัวเป็น Guru หรือผู้รู้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษได้ ทั้งเรื่องของกีฬา แฟชั่น ดนตรี ภาพยนต์
หรือเรื่องอะไรก็ได้ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเหตุบ้านการเมือง แต่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เมื่อเราเป็นฝ่ายให้ข้อมูลไป ก็ต้องระวังเรื่องเสียงตอบรับกลับมาด้วยเช่นกัน ให้ความคิเห็นและใช้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจเหมือนกัน
เว็บบล็อกจะมีระบบคอมเมนต์บล็อกที่เราเขียนไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไว้ในบล็อก
พบเจอเพื่อนใหม่ๆ การมีสังคมบนโลกออนไลน์ง่ายขึ้นเป็นกองด้วยการมีบล็อก เพราะเรื่องราวในบล็อกของเราจะเป็นสื่อที่ทำให้คนอื่นทั่วไปในอินเทอร์เน็ตรู้จักเรามากขึ้น
การโพสต์รูปหรือข้อความหาเพื่อนบนอินเทอร์เน้ตดูเหมือนจะเชยไปแล้ว บล็อกให้อะไรที่มากกว่าการโพสต์รูปและข้อความหลายเท่านัก
ซึ่งการคอมเมนต์บล็อกช่วยให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ค้าขายสินค้าในเว็บบล็อก บล็อกนั้นก็เป็นเหมือนเว็บไซต์ส่วนตัวของเรา จึงมีหลายคนใช้เว็บบล็อกเป็นแหล่งให้ข้อมูลและใช้โพสต์รูปขายสินค้าไปด้วยเลย แต่ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีด้วยว่าบล็อกที่คุณสมัครอนุญาตให้ขายสินค้าหรือไม่

สร้างง่ายไม่เสียเงิน เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย อื่นๆ อีกมากมาย

ความหมายของนวัตกรรม

คำว่า"นวัตกรรม"หรือนวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า"Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528) ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม
แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นทีรู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ
เดียวกันนั่นเอง Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา


Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรม
Everette M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ
แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ
ดังต่อไปนี้
สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

เป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)

บทสัมภาษณ์เล็กๆ เรื่องนวัตกรรมการศึกษา
click http://www.kmi.or.th/kmi-articles/dr-prapon/83-004-eduinnovation.html

ที่มา http://learners.in.th/blog/sunant1/92728

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=massmediasocialeffects&month=06-09-2008&group=1&gblog=1

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=massmedia-socialeffects&month=06-09-2008&group=1&gblog=1

http://planet.kapook.com/birdlover/blog/viewnew/91577

http://learned.in.th/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99blog/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-weblog/


ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
1. สนุกกับการเขียนเว็บบล็อกค่ะเพราะทำให้เขียนเว็บบล็อกเป็นมากยิ่งขึ้น
2. อยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้เรื่อยๆ เพราะไม่เบื่อ


วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 2 ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา






ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา








คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy"ซึ่งแปลว่า “ศาสตร์” หรือ “วิทยาการ” ดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกรมขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม อีกตัวอย่างหนึ่งการประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพเกี่ยวกับแสง เสียงและอิเล็กทรอนิกส์บนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ใช้ระบบเลขฐานสองทำให้ได้เครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อประสมประสานกับผลการประยุกต์ทาง พฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการวิเคราะห์งาน และทฤษฎีสื่อการเรียนการสอนแล้วทำให้ได้ผลผลิตทางเทคโนโลยีการศึกษา คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)





จากข้อพิจารณาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษามีสองลักษณะที่เน้นหนักแตกต่างกัน คือ


1. เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา


2. เทคโนโลยีการศึกษามีความหมายโดยตรงตามความหมายของเทคโนโลยี คือ ศาสตร์แห่งวิธีการ หรือการประยุกต์วิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา โดยคำว่า”วิทยาศาสตร์”ในที่นี้มุ่งเน้นที่วิชาพฤติกรรมศาสตร์ เพราะถือว่าพฤติกรรมศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น







พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา






ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียว

เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบันได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้นได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง


Credit : http://www.kroobannok.com/1574





ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา




แนวคิดของสมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา Asociation or ducational Communications and Technology: AECT, 1994) ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาตาม Seels and Richey ได้ศึกษาไว้ ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้

1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้


1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design) เป็นวิธีการจัดการที่รวมขั้นตอนของการสอนประกอบด้วย การวิเคราะห์ (analysis) คือ กระบวนการที่กำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไร เรียนในเนื้อหาอะไร การออกแบบ (design) กระบวนการที่จะต้องระบุว่าให้ผู้เรียนเรียนอย่างไร การพัฒนา (development) คือ กระบวนการสร้างผลิตสื่อวัสดุการสอน การนำไปใช้ (implementation) คือ การใช้วัสดุและยุทธศาสตร์ต่างๆ ในการสอน และ การประเมิน (evaluation) คือ กระบวนการในการประเมินการสอน

1.1.2 ออกแบบสาร (message design) เป็นการวางแผน เปลี่ยนแปลงสารเน้นทฤษฎีการเรียนที่ประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานของความสนใจ การรับรู้ ความจำ การออกแบบสารมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายกับผู้เรียน

1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies) เน้นที่การเลือก ลำดับเหตุการณ์ และกิจกรรมในบทเรียน ในทางปฏิบัติกลยุทธ์การสอนมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเรียน ผลของปฏิสัมพันธ์นี้สามารถอธิบายได้โดยโมเดลการสอน การเลือกยุทธศาสตร์การสอนและโมเดลการสอนต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเรียน รวมถึงลักษณะผู้เรียน ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา และจุดประสงค์ของผู้เรียน









1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics) คือลักษณะและประสบารณ์เดิมของผู้เรียนที่จะมีผลต่อกระบวนการเรียน การสอน การเลือก และการใช้ยุทธศาสตร์การสอน

1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ ประกอบด้วย


1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies) เป็นการผลิต หรือส่งสาร สื่อด้านวัสดุ เช่น หนังสือ โสตทัศนวัสดุพื้นฐานประเภทภาพนิ่ง ภาพถ่าย รวมถึงสื่อข้อความ กราฟิก วัสดุภาพสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุ สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนา การใช้สื่อวัสดุการสอนอื่นๆ


1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสาร โดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำเสนอสารต่างๆ ด้วยเสียง และภาพ โสตทัศนูปกรณ์จะช่วยแสดงสิ่งที่เป็นธรรมชาติจริง ความคิดที่เป็นนามธรรม เพื่อผู้สอนนำไปใช้ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายสารโดยการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เพื่อรับและส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์จัดการสอน โทรคมนาคม การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงและใช้แหล่งข้อมูลในเครือข่าย 1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies) เป็นวิธีการในการจัดหา หรือส่งถ่ายข้อมูลกับสื่อหลาย ๆ รูปแบบภายใต้การควบคุมของคอมพิวเตอร์

1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอนประกอบด้วย

1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization) เป็นระบบของการใช้สื่อ แหล่งทรัพยากรเพื่อ การเรียน โดยใช้กระบวนการตามที่ผ่านการออกแบบการสอน


1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations) เป็นกระบวนการสื่อความหมาย
รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ หรือจุดประสงค์ให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม









1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization) เป็นการใช้สื่อการสอนหรือยุทธศาสตร์ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่องและใช้นวัตกรรมการศึกษาเป็นประจำในองค์การ









1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations) เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคมที่ส่งผลต่อการแพร่กระจาย และการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.4 การจัดการ (management) เป็นการควบคุมกระบวนการทางเทคโนโลยีการศึกษา ตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ ประกอบด้วย









1.4.1 การจัดการโครงการ (project management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การออกแบบ และพัฒนาโครงการสอน









1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมแหล่งทรัพยากร ที่ช่วยระบบและการบริการ









1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุมวิธีการซึ่งแพร่กระจายสื่อการสอนในองค์การ รวมถึงสื่อ และวิธีการใช้ที่จะนำเสนอสารไปยังผู้เรียน









1.4.4 การจัดการสารสนเทศ (information management) เป็นการวางแผน กำกับ ควบคุม การเก็บ การส่งถ่าย หรือกระบวนการของข้อมูลสารเพื่อสนับสนุนแหล่งทรัพยากรการเรียน

1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน ประกอบด้วย









1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis) เป็นการทำให้ปัญหาสิ้นสุด โดยการใช้ข้อมูลต่างๆ และวิธีการที่จะช่วยตัดสินใจ









1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement) เทคนิคการใช้เกณฑ์เพื่อการประเมินการสอน หรือประเมินโครงการเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมจากการประเมินความก้าวหน้าเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาต่อไป









1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation) มีการใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมที่จะตัดสินใจกับการดำเนินงานโปรแกรม หรือโครงการต่อไป
tp://richey.exteen.com/20080201/entry











ภาพยนตร์ ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่



























http://www.7dow.com/archives/506









ตัวอย่างภาพยนตร์ ครูบ้านนอกบ้านหนองฮีใหญ่

















































http://www.youtube.com/watch?v=hsE6_Mpw9cc&feature=player_embedded









แง่คิดที่ได้จากการชมภาพยนตร์

















1. ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าคนที่เป็นครูรักอาชีพของตัวเองมากและพร้อมที่จะเสียสละได้ทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง
2. ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเนื้อหาที่ดีไม่จบเหมือนหนังเรื่องอื่นๆ ชวนให้คิดต่อว่า ต่อไปจะเป็นอย่างๆไร
3. ได้รู้ถึงวิธีการสอนต่างๆ ไม่ว่าจะเนการสอนแบบในโรงเรียน หรือการสอนนอกสถานที่
4. ช่วยให้เราได้คิดว่าเด็กที่ด้อยโอกาสนั้นมีอีกเยอะและเด็กที่ต้องการศึกษาเล่าเรียนก็มีอีกเยอะเช่นกันแต่ทำไมครูถึงมีน้อยที่จะอาสาไปพัฒนาโรงเรียนเหล่านี้
5. ไม่เข้าใจว่าทำไมผู้มีอิทธิพลถึงมีอำนาจมากขนาดนี้ ทำเรื่องผิดกฎหมายแต่ทำอะไรไม่ได้ หรือว่าสมัยนี้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายไปแล้ว หนังเรื่องนี้คงสะท้อนแง่คิดให้คนดูไม่มากก็น้อย
6. ความรักและความสามัคคีเป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง อยากให้ทุกคนมีความรักและความสามัคคีเหมือนตัวละครในเรื่องนี้กันเยอะๆ ค่ะ